ทดสอบก่อนเรียน
บทที่ 1 การฟัง การดู
บทที่ 2 การพูด
บทที่ 3 การอ่าน
บทที่ 4 การเขียน
บทที่ 5 หลักการใช้ภาษา
1 of 2

หลักการแต่งคำประพันธ์

คำประพันธ์หรือร้อยกรองมีหลายประเภท เช่น โคลง กลอน กาพย์ ฉันท์ และ ร่ายบทร้อยกรองเป็นข้อความที่ประดิดประดอยตกแต่งคำภาษาอย่างมีแบบแผนและมีเงื่อนไขพิเศษบังคับไว้ เช่น บังคับจำนวนคำ บังคับวรรค บังคับสัมผัส เรียกว่า “ฉันทลักษณ์”

แนวทางการเขียนบทร้อยกรองมีดังนี้

1. ศึกษาฉันทลักษณ์ของคำประพันธ์นั้นๆ ให้เข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง

2. คิดหรือจินตนาการว่าจะเขียนเรื่องอะไร สร้างภาพให้เกิดขึ้นในห้วงความคิด

3. ลำดับภาพหรือลำดับข้อความให้เป็นอย่างสมเหตุผล

4. ถ่ายทอดความรู้สึกหรือจินตนาการนั้นเป็นบทร้อยกรอง

5. เลือกใช้คำที่สื่อความหมายได้ชัดเจน ทำให้ผู้อ่านเกิดภาพพจน์และจินตนาการร่วมกับผู้ประพันธ์

6. พยายามเลือกใช้คำที่ไพเราะ เช่น คิด ใช้คำว่า ถวิล ผู้หญิงใช้คำว่า นารี

7. แต่งให้ถูกต้องตามฉันทลักษณ์ของคำประพันธ์

การเขียนโคลงสี่สุภาพ มีหลักการเขียนดังนี้

บทหนึ่งมี 4 บาท บาทหนึ่งมี 2 วรรค เรียกวรรคหน้ากับวรรคหลัง วรรคหน้ามี 5 พยางค์ทุกบาท วรรคหลังของบาทที่หนึ่งที่สองและที่สามมี 2 พยางค์ วรรคหลังของบาทที่สี่มี 4 พยางค์ และอาจมีคำสร้อยได้ในวรรคหลังของบาทที่หนึ่งและบาทที่สาม มีสัมผัสบังคับตามที่กำหนดไว้ในผังของโคลง ไม่นิยมใช้สัมผัสสระ ใช้แต่สัมผัสอักษร โคลงบทหนึ่งบังคับใช้คำที่มีวรรณยุกต์เอก 7 แห่ง และวรรณยุกต์โท 4 แห่ง คำเอกผ่อนผันให้ใช้คำตายแทนได้

การเขียนกาพย์ แบ่งออกเป็น กาพย์ยานี กาพย์ฉบัง กาพย์สุรางคนางค์ กาพย์ขับไม้

(1) กาพย์ยานี 11 มีลักษณะบังคับของบทร้อยกรอง ดังนี้

คณะ คณะของกาพย์ยานีมีดังนี้ กาพย์บทหนึ่งที่ 2 บาท บาทที่ 1 เรียกว่า บาทเอก บาทที่ 2 เรียกว่า บาทโท แต่ละบาทมี 2 วรรค คือ วรรคแรกและวรรคหลัง

พยางค์ พยางค์หรือคำในวรรคแรกมี 5 คำ วรรคหลังมี 6 คำ เป็นเช่นนี้ทั้งบาทเอกและบาทโท จึงนับจำนวนได้บาทละ 11 คำ เลข 11 ซึ่งเขียนไว้หลังชื่อกาพย์ยานีนั้นเพื่อบอกจำนวนคำ

กาพย์ฉบัง 16 มีลักษณะบังคับของบทร้อยกรอง ดังนี้

คณะ กาพย์ฉบังบทหนึ่งมีเพียง 1 บาท แต่มี 3 วรรค คือ วรรคต้น วรรคกลาง และวรรคท้าย

พยางค์ พยางค์หรือคำในวรรคต้นมี 6 คำ วรรคกลางมี 4 คำ วรรคท้ายมี 6 คำ รวมทั้งบทมี 16 คำ จึงเขียนเลข 16 ไว้หลังชื่อกาพย์ฉบัง

กาพย์สุรางคนาง28 มีลักษณะบังคับของบทร้อยกรอง ดังนี้

คณะ บทหนึ่งมี 7 วรรค เรียงได้ 2 วิธีตามผัง ดังนี้

สุรางคนางคนางค์ เจ็ดวรรคจักวาง ให้ถูกวิธี

วรรคหนึ่งสี่คำ จงจำไว้ให้ดี บทหนึ่งจึงมี ยี่สิบแปดคำ

หากแต่งต่อไป สัมผัสตรงไหน จงให้แม่นยำ

คำท้ายวรรคสาม ติดตามประจำ สัมผัสกับคำ ท้ายบทต้นแล

อ.ฐปนีย์ นาครทรรพ ประพันธ์

ฉันท์ แบ่งเป็นหลายชนิด เช่น อินทรวิเชียรฉันท์ ภุชงคประยาตฉันท์ วิชชุมมาลาฉันท์ มาณวกฉันท์ วสันตดิลกฉันท์ อิทิ ฉันท์ เป็นต้น และยังมีฉันท์ที่มีผู้ประดิษฐ์ขึ้นใหม่อีก เช่น สยามมณีฉันท์ ของ น.ม.ส. เป็นต้น