ทดสอบก่อนเรียน
บทที่ 1 การฟัง การดู
บทที่ 2 การพูด
บทที่ 3 การอ่าน
บทที่ 4 การเขียน
บทที่ 5 หลักการใช้ภาษา
1 of 2

มารยาทและนิสัยรักการเขียน

มารยาทในการเขียน

1. ไม่ควรเขียนโดยปราศจากความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ เพราะอาจเกิดความ ผิดพลาด หากจะเขียนก็ควรศึกษาค้นคว้าให้เกิดความพร้อมเสียก่อน

2. ไม่เขียนเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติหรือสถาบันเบื้องสูง

3. ไม่เขียนเพื่อมุ่งเน้นทำลายผู้อื่น หรือเพื่อสร้างผลประโยชน์ให้แก่ตน พวกพ้องตน

4. ไม่เขียนโดยใช้อารมณ์ส่วนตัวเป็นบรรทัดฐาน

5. ต้องบอกแหล่งที่มาของข้อมูลเดิมเสมอ เพื่อให้เกียรติเจ้าของข้อมูลนั้นๆ

การสร้างนิสัยรักการเขียน

ในการเริ่มต้นของการเขียนอะไรก็ตาม ผู้เขียนจะเขียนไม่ออกถ้าไม่ตั้งเป้าหมายในการเขียนไว้ล่วงหน้าว่าจะเขียนอะไร เขียนทำไม เพราะการเขียนเรื่อยเปื่อยไม่ทำให้งานเขียนน่าอ่านและถ้าทำให้งานชิ้นนั้นไม่มีคุณค่าเท่าที่ควร งานเขียนที่มีคุณค่าคืองานเขียนอย่างมีจุดหมาย มีข้อมูลข่าวสารไร้พรมแดนดังเช่นในปัจจุบัน การมีข้อมูลมากย่อมทำให้เป็นผู้ได้เปรียบผู้อื่นเป็นอันมาก เพราะยุคปัจจุบันเป็นยุคแห่งการแข่งขันกันในทุกทางโดยเฉพาะในทางเศรษฐกิจ ใครมีข้อมูลมากจะเป็นผู้ได้เปรียบคู่แข่งขันอื่นๆ เพราะการนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ได้เร็วกว่านั้นเอง การหมั่นแสวงหาความรู้เพื่อสะสมข้อมูล ต่างๆ ให้ตัวเองมากๆ จึงเป็นความได้เปรียบ และควรกระทำให้เป็นนิสัยติดตัวไป เพราะการกระทำใดๆ ถ้าทำบ่อยๆ ทำเป็นประจำในวันหนึ่งก็จะกลายเป็นนิสัยและความเคยชินที่ต้องทำต่อไป

การค้นคว้ารวบรวมข้อมูลเป็นกิจกรรมที่จะทำให้เกิดความสนุกสนานทางวิชาการเพราะยิ่งค้นคว้าก็จะยิ่งทำสิ่งที่น่าสนใจมากขึ้น ผู้ที่ฝึกตนให้เป็นผู้ใคร่รู้ ใคร่เรียน ชอบแสวงหาความรู้จะมีความสุขมากเมื่อได้ศึกษาค้นคว้าและได้พบสิ่งแปลกๆใหม่ๆ ในภาษาไทย หรือในความรู้แขนงอื่นๆ บางคนเมื่อค้นคว้าแล้วจะรวบรวมไว้อย่างเป็นระบบ