ทดสอบก่อนเรียน
บทที่ 1 การฟัง การดู
บทที่ 2 การพูด
บทที่ 3 การอ่าน
บทที่ 4 การเขียน
บทที่ 5 หลักการใช้ภาษา
1 of 2

ภาษาถิ่น

ความหมายของภาษาถิ่น

ภาษาถิ่น หมายถึง ภาษาที่ใช้สื่อความหมายตามท้องถิ่นต่างๆ ซึ่งจะแตกต่างกันในถ้อยคำ สำเนียงแต่ก็สามารถจะติดต่อสื่อสารกันได้ และถือว่าเป็นภาษาเดียวกัน เพียงแต่แตกต่างกันตามท้องถิ่นเท่านั้น

ภาษาถิ่น บางที่มักจะเรียกกันว่า ภาษาพื้นเมืองทั้งนี้เพราะไม่ได้ใช้เป็นภาษามาตรฐานหรือภาษากลางของประเทศ

สาเหตุที่ทำให้เกิดภาษาถิ่น

ภาษาถิ่น เกิดจากสาเหตุการย้ายถิ่นฐาน เมื่อกลุ่มชนที่ใช้ภาษาเดียวกันย้ายถิ่นฐานไปตั้งแหล่งใหม่ เนื่องจากเกิดภัยธรรมชาติ มีการรุกรานของศัตรู เมื่อแยกย้ายไปอยู่คนละถิ่นนานาๆ ภาษาที่ใช้จะค่อยเปลี่ยนแปลงไปเช่น เสียงเปลี่ยนไป คำและความหมายเปลี่ยนไป ทำให้เกิดภาษาถิ่นขึ้น

คุณค่าและความสำคัญของภาษาถิ่น

1. ภาษาถิ่นเป็นวัฒนธรรมทางภาษาและเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่น

2. ภาษาถิ่นเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้สื่อสารทำความเข้าใจและแสดงความเป็นญาติ เป็น พวกเดียวกันของเจ้าของภาษา

3. ภาษาถิ่นต้นกำเนิดและเป็นส่วนหนึ่งของภาษาไทยและวรรณคดีไทย การศึกษาภาษาถิ่นจะช่วยให้การสื่อสารและการศึกษาวรรณคดีได้เข้าใจลึกซึ่งยิ่งขึ้น

4. การศึกษาและการใช้ภาษาถิ่น จะช่วยให้การสื่อสารได้มีประสิทธิภาพและสร้างความเป็นหนึ่งของคนในชาติ

ลักษณะของภาษาถิ่น

1. มีการออกเสียงต่างๆ ถิ่น เพราะสภาพทางภูมิศาสตร์ ความห่างไกลขาดการติดต่อสื่อสารกันเป็นเวลานานมากๆย่อมทำให้ออกเสียงต่างกันไป

2. การผสมกันทางเชื้อชาติเพราะอยู่ใกล้เคียงกันทำให้มีภาษาอื่นมาปน เช่น ภาษาอีสาน มีภาษากลางและเขมรมาปนเพราะมีเขตแดนใกล้กันทำให้ภาษาเปลี่ยนไปจากภาษากลาง

3. การถ่ายทอดทางวัฒนธรรมและเทคโนโลยีซึ่งกันและกัน ทำให้ภาษาเปลี่ยนจากภาษากลาง

4. หน่วยเสียงของภาษาถิ่นมีส่วนคล้ายกันและแตกต่างกัน หน่วยเสียงของภาษากลางมี 21 เสียง ภาษาถิ่นมีหน่วยเสียงตรงกันเพียง 17 เสียง นอกนั้นแจกต่างกัน เช่น ภาษาถิ่นเหนือและอีสานไม่มีหน่วยเสียง ช และ ร ภาษาถิ่นใต้ไม่มีหน่วยเสียง ง และ ร เป็นต้น

5. หน่วยเสียงวรรณยุกต์ในภาษาถิ่น แตกต่างกันไป ภาคใต้มีเสียงวรรณยุกต์ 7 เสียง ภาคเหนือและอีสานมีเสียงวรรณยุกต์ 6 เสียง ตัวอย่างการกลายเสียงวรรณยุกต์

ม้า (กลาง) ภาคใต้ออกเสียงเป็น หม่า

ข้าว (กลาง) ภาคอีสานออกเสียงเป็น ข่าว

ช้าง (กลาง) ภาคเหนือออกเสียงเป็น จ๊าง

6. การกลายเสียงพยัญชนะในภาษาถิ่นเหนือ ใต้ อีสาน นั้นมีส่วนแตกต่างกันหลายลักษณะ ดังตัวอย่างต่อไป

 

https://www.youtube.com/watch?v=JNunU2c14oI