พท31001 ภาษาไทย

รายวิชาภาษาไทย (พท 31001)

สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด
การฟังและการดูเป็นทักษะที่สำคัญที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน หากฟังและดูได้อย่างเข้าใจจะนำไปใช้ประโยชน์ได้มาก

มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐานที่ 2.1 มีความรู้ความเข้าใจ และทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับภาษาและการสื่อสาร

การฟัง การดู
1. เห็นความสำคัญของการฟังและดู
2. สามารถจับใจความและสรุปความจากเรื่องที่ฟังและดู
3. มีมารยาทในการฟังและดู

หลักการ ความสำคัญ จุดมุ่งหมายของการฟังและดู
1. การฟังและดูมีหลักการดังนี้
1. ฟังและดูอย่างตั้งใจ เพื่อจะได้รับเนื้อหาสาระได้ถูกต้องและครบถ้วน
2. มีจุดมุ่งหมายในการฟังและดูเพื่อจะช่วยให้การฟังสำเร็จตามจุดมุ่งหมาย
3. จดบันทึกใจความสำคัญ จะได้ศึกษาทบทวนได้
4. ศึกษาหาความรู้ก่อนที่จะฟังและดู จะช่วยให้เข้าใจเนื้อหาสาระได้เร็วขึ้น
2. ความสำคัญของการฟังและการดู
1. เพิ่มความรู้และประสบการณ์ ซึ่งเน้นความรู้ใหม่และประสบการณ์ที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้
2. เป็นการศึกษาระหว่างกัน ให้เข้าใจและปฏิบัติตามที่ต้องการได้
3. เป็นการเผยแพร่ความรู้ ข่าวสารให้ทราบทั่วไปกั่นและปฏิบัติได้ถูกต้อง
4. เป็นการพัฒนาชิตและความเป็นอยู่ โดยนำความรู้ทั้งหมดเป็นเนื้อหาสำคัญ ในความรู้ ด้านวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมนุษย์ศาสตร์ มาใช้ได้อย่างเหมาะสม
3. จุดมุ่งหมายของการฟังและการดู
1. เพื่อความรู้ เป็นความรู้ที่ไม่จำกัด จะฟังน้องหรือมากจากได้ความรู้ทั้งสิ้น
2. เพื่อนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน อาจจุไปอธิบายหรือสอนต่อ หรือจะนำไปประกอบเป็นอาชีพได้
3. เพื่อความเพลิดเพลิน เป็นการผ่อนคลายได้ เช่น การฟังเพลง การดูรายการบันเทิง เป็นต้น
4. เพื่อใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์กับตนเอง ทำให้ไม่ใช้เวลาว่างในทางเสียหายแก่ตนเองและผู้อื่น จุดมุ่งหมายของแต่ละท่านอาจจะเหมือนกันหรือไม่เหมือนกันก็ได้และอาจจุมากกว่า 1 จุดมุ่งหมาย การฟังและการดูเพื่อจับใจความสำคัญในเรื่องที่ 2 นี้มีเนื้อหาสาระเป็น 2 ส่วน คือ
1. การฟังเพื่อจับใจความสำคัญ
2. การดูเพื่อจับใจความสำคัญ
ทั้งสองส่วนนี้รายละเอียดดังนี้

1. การฟังเพื่อจับใจความสำคัญ
การฟังเพื่อจับใจความสำคัญไม่ใช่เรื่องยากที่จะทำได้ แต่ผู้ฟังต้องปฏิบัติดังนี้ก่อน
1. ฟังอย่างตั้งใจ และมีสมาธิ
2. ฟังให้ตลอดเรื่อง และครบถ้วนสมบูรณ์
3. ฟังอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้ความรู้ประสบการณ์ของตน มาพิจารณาไตร่ตรองเนื้อหาสาระได้ถูกต้อง มีประโยชน์ได้อย่างไรบ้างเมื่อผู้เรียนปฏิบัติตนได้เช่นนี้
แล้ว การฟังเพื่อจับใจความได้สำเร็จไปมากกว่าครึ่งหนึ่งแล้ว
วิธีการฟังเพื่อจับใจความสำคัญ
1. ฟังแล้วเข้าใจเรื่องที่ฟัง คืออะไร ใครทำ ทำเมื่อใด ทำที่ไหน ทำอย่างไร และเกิดผลอย่างไร
2. เข้าใจเนื้อหาสาระ โดยแยกเป็นความจริง และข้อคิดเห็น ได้อย่างชัดเจน
3. ประเมินค่าเรื่องที่ฟัง ว่าเนื้อหานี้ได้ถูกต้อง และเหมาะสม มากหรือน้อยเพียงใด โดยเหมาะสม กับเพศและวัย และช่วงเวลาของกลุ่มผู้ฟังหรือไม่
4. จดบันทึกใจความสำคัญจากเรื่องที่ฟัง อ่าน คิด และทบทวนหรือเผยแพร่ความรู้ให้ผู้อื่นต่อไป

2. การดูเพื่อจับใจความสำคัญ
การดูเพื่อจับใจความสำคัญ ผู้ดูจะต้องทราบประเภทของสื่อที่ดู ข้อดี 2 ประเภท คือ
1. ดูจากของจริง เช่น นิทรรศการ การสาธิต หรือ การทัศนศึกษา เป็นต้น
2. ดูผ่านสื่อต่างๆ เช่น สื่อโทรทัศน์ วีดีทัศน์ สื่อคอมพิวเตอร์ ภาพยนตร์ ภาพถ่าย เป็นต้น
หลักการดู
1. ดูอย่างตั้งใจและมีสมาธิในการดู
2. มีจุดมุ่งหมายในการพูดจะทำให้การดูประสบผลสำเร็จได้
3. มีวิจารณญาณ ดูแล้วคิดไตร่ตรองอย่างมีเหตุผล
4. นำไปใช้ประโยชน์ คืออาจจะมีการปรับให้เหมาะสมกับเวลา และสถานการณ์ของตน
วิธีการดูเพื่อจับใจความสำคัญ
1. พิจารณาจากชื่อเรื่องที่จะดูเพื่อจะได้ทราบเนื้อหาสาระจะเน้นเรื่องเกี่ยวกับอะไร
2. พิจารณาไตร่ตรองเพื่อสาระสำคัญของเรื่องที่ดูซึ่งบางครั้งจะไม่ได้บอกไว้ชัดเจน
3. บันทึกใจความสำคัญเพื่อการอ่านทบทวน

(อ้างอิง:www.krunokrabop.com/articles/42165199/ภาษาไทย-พท31001.html)

Course Content

Expand All
ทดสอบก่อนเรียน
บทที่ 1 การฟัง การดู
บทที่ 2 การพูด
บทที่ 3 การอ่าน
บทที่ 4 การเขียน
บทที่ 5 หลักการใช้ภาษา
1 of 2