ทดสอบก่อนเรียน
บทที่ 1 การฟัง การดู
บทที่ 2 การพูด
บทที่ 3 การอ่าน
บทที่ 4 การเขียน
บทที่ 5 หลักการใช้ภาษา
1 of 2

หลักการวิจารณวรรรณกรรม

ลักษณะของวรรณกรรม

1. วรรณกรรมเป็นงานประพันธ์ที่แสดงความรู้สึกนึกคิด โดยทั่วไปมนุษย์จะพูดหรือเขียนแล้วจะส่งความรู้สึกนึกคิด อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ฝนตก ต้นไม้สีเขียว ความรู้สึก จะสัมผัสได้ทางกายและใจ เช่น รู้สึกหนาว รู้สึกร้อน เป็นต้น ส่วนความคิดคือสิ่งที่เกิดจากใช้สติปัญญาใคร่ครวญเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากระทบอารมณ์

2. วรรณกรรมเป็นงานประพันธ์ที่เกิดจากจินตนาการ เป็นการสร้างภาพขึ้นในจิตใจ จากสิ่งที่เคยพบเคยเห็นในชีวิต สิ่งที่สร้างสรรค์ขึ้นมาจากจินตนาการออกจะมีเค้าความจริงอยู่บ้าง

3. วรรณกรรมเป็นงานประพันธ์ใช้ภาษาวรรณศิลป์ เช่น คำว่าใจกว้างเหมือนแม่น้ำ หรือ หิมะขาวเหมือนสำลี เป็นต้น

ประเภทของวรรณกรรม

ในปัจจุบันวรรณกรรมแบ่งประเภทโดยดูจากรูปแบบการแต่งและการแบ่งตามเนื้อหาออกเป็น 4 ประเภท คือ

1. ประเภทร้อยแก้ว คือ วรรณกรรมที่ไม่มีลักษณะบังคับ ไม่บังคับจำนวนคำ สัมผัส หรือเสียงหนักเบาวรรณกรรมที่แต่งด้วยร้อยแก้ว ได้แก่ นิทาน นิยาย นวนิยาย เรื่องสั้น สารคดี บทความ ข่าว

2. ประเภทร้อยกรอง คือ วรรณกรรมที่มีลักษณะบังคับในการแต่ง ซึ่งเรียกว่าฉันทลักษณ์ เช่น โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย ลิลิต วรรณกรรมที่แต่งด้วยคำประเภทร้อยกรอง ได้แก่ บทละคร นิยาย บทพรรณนา บทสดุดี บทอาเศียรวาท

3. ประเภทสารคดี คือ วรรณกรรมที่มีเนื้อหาสาระให้ความรู้ ความคิดและอาจให้ความบันเทิงด้วย เช่น สารคดีท่องเที่ยว ชีวประวัติ บันทึกจดหมายเหตุ หนังสือคติธรรม บทความ เป็นต้น

4. ประเภทบันเทิงคดี คือ วรรณกรรมที่แต่งขึ้นโดยอาศัยเค้าความจริงของชีวิตหรือจินตนาการ โดยมุ่งให้ความบันเทิงแก่ผู้อ่านเป็นลำดับ ได้แก่ เรื่องสั้น นิทาน นวนิยาย บทละครพูด เป็นต้น

วรรณกรรมที่ได้รับการยกย่อง

ในการอ่านหนังสือแต่ละเล่ม โดยเฉพาะหนังสือประเภทวรรณคดี ผู้อ่านย่อมได้รับประสบการณ์ทางอารมณ์บ้าง ได้รับคุณค่าทางปัญญาบ้าง หรืออาจได้รับทั้งสองประการบ้าง ส่วนวรรณกรรมบางเรื่องแม้มิได้เป็นวรรณคดีก็อาจให้ทั้งประสบการณ์ทางอารมณ์และให้คุณค่าทางปัญญา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้อ่านว่าจะสามารถเข้าถึงวรรณกรรมนั้นได้พียงไร วรรณกรรมบางเรื่องแต่งได้ดีจนได้รับการยกย่อง ซึ่งมีลักษณะดังนี้

งานประพันธ์ทั้งปวงย่อมแฝงไว้ซึ่งแนวคิดและค่านิยมบางประการ อันจะก่อให้เกิดความงอกงาม ทางสติปัญญาและพัฒนาการสมรรถภาพการพิจารณาความประณีตความละเอียดอ่อนทางภาษาได้อย่างดียิ่ง แนวคิดที่ปรากฏในวรรณกรรมนั้น อาจหมายถึงความคิดสำคัญของเรื่องหรืออาจเป็นความคิดอื่นๆ สอดแทรกอยู่ในเรื่องก็ได้

ยกตัวอย่างนิทานเรื่องปลาปู่ทองให้แนวคิดว่าความอิจฉาริษยา ของแม่เลี้ยงเป็นสาเหตุให้ลูกเลี้ยงถูกทำทารุณกรรมอย่างแสนสาหัส

บทร้อยกรองเรื่อง น้ำตา ให้แนวคิดสำคัญว่า น้ำตาเป็นเพื่อนของมนุษย์ทั้งในยามทุกข์ และยามสุข

ส่วนค่านิยมจากวรรณกรรมนั้น หมายถึงความรู้สึก ความคิด หรือความเชื่อของมนุษย์ รวมถึงความเชื่อมั่น การยึดถือปฏิบัติในเรื่องต่างๆ ในการดำเนินชีวิต ค่านิยมจึงเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ในการเลือกกระทำหรือเว้นกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งถือว่าทำหรือคิดเช่นตามกาลเวลา

https://www.youtube.com/watch?v=RIi5jhNGgMo