ทดสอบก่อนเรียน
บทที่ 1 Everyday English
บทที่ 2 What should you do?
บทที่ 3 Hello, could you tell me……?
1 of 4

การวิเคราะห์ศัพท์ รากศัพท์ อุปสรรค ปัจจัย

คำภาษาอังกฤษจำนวนมากมีรากศัพท์ (Root) มาจากภาษาลาติน (Latin) เหมือนกับภาษาไทยที่มีจำนวนมากที่มีรากศัพท์มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต นอกจากนี้คำภาษาอังกฤษอีกจำนวนมาก ที่มีการใช้คำเติมข้างหน้า หรือ Prefix และคำต่อท้าย หรือ Suffix ทำให้ความหมายของ
คำเดิม หรือของรากศัพท์เดิม (Root) เปลี่ยนแปลงไป Prefix และ Suffix แต่ละตัวจะมีความหมาย
ในตัวเอง เมื่อนำไปเป็นส่วนหนึ่งของคำอื่น จะทำให้เกิดความหมายใหม่ แต่จะยังคงเค้าความหมายของรากศัพท์เดิมบวกกับความหมายของ Prefix หรือ Suffix ที่เติมเข้าไป ดังนั้น ถ้าหากเรารู้ความหมายของ Root ของคำนั้น รู้ความหมายของ Prefix ที่ใช้หรือรู้ความหมายของ Suffix ก็จะทำให้เราสามารถเดาความหมายของคำคำนั้นได้

2) วิเคราะห์จากการเติมอุปสรรค (prefix) คำที่ใช้เติมหน้าคำศัพท์เดิม จะทำให้ความหมายเปลี่ยนไป ดังนี้
2.1 Prefix ที่เติมหน้าคำแล้ว ทำให้คำนั้นมีความตรงกันข้ามหรือเป็นปฏิเสธ
ใช้ im-, il-, ir-, un-, in- เติมหน้าคำคุณศัพท์ (adjective)
im- ใช้เติมหน้า adjective ที่ขึ้นต้นด้วย m, p เช่น
possible = เป็นไปได้ impossible = เป็นไปไม่ได้
mortal = ตาย immortal = ไม่ตาย
il- ใช้เติมหน้า adjective ที่ขึ้นต้นด้วย l เช่น

legal = ถูกกฎหมาย illegal = ผิดกฎหมาย
ir- ใช้เติมหน้า adjective ที่ขึ้นต้นด้วย r เช่น
regular = สม่ำเสมอ irregular = ไม่สม่ำเสมอ
un- และ in- ใช้เติมหน้า adjective นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
ใช้ dis- (=not) เติมหน้าคำนาม (noun) คำกริยา (verb) และคำคุณศัพท์ (adjective)
comfort (n.) = ความสะดวกสบาย discomfort(n.) = ความไม่สะดวกสบาย
like (v.) = ชอบ dislike (v.) = ไม่ชอบ
honest (adj.) = ซื่อสัตย์ dishonest (adj.) = ไม่ซื่อสัตย์
ใช้ non- เติมหน้าคำนาม (noun), คำคุณศัพท์ (adjective) เช่น
cooperation (n.) = การร่วมมือ non – cooperation (n.) = การไม่ร่วมมือ
political (adj.) = แห่งการเมือง non – political (adj.) = ไม่เกี่ยวกับ
การเมือง
ใช้ mis- เติมเฉพาะหน้าคำกริยา แปลว่า wrongly, badly (ผิด, ไม่ถูกต้อง)
understand (v.) = เข้าใจ misunderstand = understand wrongly
(เข้าใจผิด)
manage (v.) = จัดการ mismanage = manage badly
(จัดการไม่ดี)
2.2 Prefix ที่เติมหน้าคำแล้ว ทำให้คำนั้นมีความหมายแตกต่างออกไปในแต่ละคำตามความหมายของ prefix นั้น ๆ เช่น

2.3   Prefix ที่เติมแล้วบอกความหมายปริมาณ (quantity) และขนาด (size) เช่น