แนะนำบทเรียน
แบบทดสอบก่อนเรียน
บทที่1 ทักษะทางวิทยาศาสตร์ และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
บทที่ 2 โครงงานวิทยาศาสตร์
บทที่ 3 เซลล์
บทที่ 4 พันธุกรรมและความหลากหลายทางชีวภาพ
บทที่ 5 เทคโนโลยีชีวภาพ
1 of 2

เรื่องที่ 4. ภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพ

เรื่องที่ 4 ภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพ

             เทคโนโลยีชีวภาพที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เก่าที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ ก็คือ เทคโนโลยีการหมัก (Fermentation Technology) โดยนำแบคทีเรียที่มีอยู่ตามธรรมชาติมาใช้ในกระบวนการถนอมอาหาร และแปรรูปอาหาร เช่น การทำ น้ำปลา ปลาร้า แหนม น้ำบูดู เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว เต้าหู้ยี้ ผักและผลไม้ดอง น้ำส้มสายชู เหล้า เบียร์ ขนมปัง นมเปรี้ยว เป็นต้น ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการหมักในลักษณะนี้ อาจจะมีคุณภาพไม่แน่นอน ยากต่อการปรับปรุงประสิทธิภาพในการหมัก หรือขยายกำลังผลิตให้สูงขึ้น และยังเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของเชื้อโรค หรือจุลินทรีย์ที่สร้างสารพิษ
             ในปัจจุบันสภาพเศรษฐกิจ และสังคมของชาวชนบท จะพึ่งพาแต่เฉพาะเทคโนโลยีระดับพื้นบ้านที่จัดเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นดั้งเดิมด้านเทคโนโลยีชีวภาพไม่ได้ จึงเป็นผลให้ในปัจจุบันมีการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพเพิ่มขึ้นตามความต้องการของท้องถิ่น ซึ่งการที่ภูมิปัญญาเหล่านั้นจะพัฒนาได้จะต้องอาศัยนักพัฒนามาเป็นส่วนร่วมในการนำเทคโนโลยีมาแนะนำให้ชาวบ้านได้มีความรู้ และเข้าใจถึงการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่าง ๆ ที่ใช้ในการดำเนินงาน ความจำเป็นในการเลือกใช้และปรับปรุงเทคโนโลยีบางชนิดให้มีสมรรถนะที่สูงขึ้น โดยเฉพาะในการเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน ซึ่งขึ้นอยู่กับความรู้ และทักษะจากแหล่งภายนอก ดังนั้นภูมิปัญญาท้องถิ่นจำเป็นจะต้องอาศัยเทคโนโลยีมาประกอบเพื่อเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้น เพื่อให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง เช่น ด้านอุตสาหกรรมอาหาร ด้านการแพทย์ ด้านการศึกษา เป็นต้น ซึ่งแต่ละท้องถิ่น จะพัฒนาภูมิปัญญาด้านเทคโนโลยีชีวภาพ แตกต่างกันตามสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ พฤติกรรมการดำรงชีวิต วัตถุดิบ และการใช้ประโยชน์ โดยการศึกษา คิดค้น และทดลอง เป็นผลให้ในปัจจุบันเทคโนโลยีชีวภาพมีความก้าวหน้ามาก
                ทั้งนี้การถ่ายทอดความรู้ เทคนิคการผลิต และทักษะการปฏิบัติ เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นต่อการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพของคนรุ่นใหม่ ซึ่งจะก่อให้เกิดการแตกยอด และพัฒนาในรูปแบบใหม่ๆ ต่อไปในอนาคต