แนะนำบทเรียน
แบบทดสอบก่อนเรียน
บทที่1 ทักษะทางวิทยาศาสตร์ และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
บทที่ 2 โครงงานวิทยาศาสตร์
บทที่ 3 เซลล์
บทที่ 4 พันธุกรรมและความหลากหลายทางชีวภาพ
บทที่ 5 เทคโนโลยีชีวภาพ
1 of 2

เรื่องที่ 3. เทคโนโลยีชีวภาพในชีวิตประจำวัน

เรื่องที่ 3 เทคโนโลยีชีวภาพในชีวิตประจำวัน
             

             การนำเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นการนำความรู้เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตและผลิตผลของสิ่งมีชีวิต มาใช้ให้เป็นประโยชน์กับมนุษย์ในการดำรงชีวิตตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เช่น
             การผลิตอาหาร เช่น น้ำปลา ปลาร้า ปลาส้ม ผักดอง น้ำบูดู น้ำส้มสายชู นมเปรี้ยว
             การผลิตผงซักฟอกชนิดใหม่ที่มีเอนไซม์
             การทำปุ๋ยจากวัสดุเหลือทิ้ง เช่น เศษผัก อาหาร ฟางข้าว มูลสัตว์
             การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้จุลินทรีย์ในการกำจัดขยะ หรือบำบัดน้ำเสีย
              การแก้ไขปัญหาพลังงาน เช่น การผลิตแอลกอฮอล์ ชนิด เอทานอลไร้น้ำ เพื่อผสมกับน้ำมันเบนซิน เป็น “แก๊สโซฮอล์” เป็นเชื้อเพลิงรถยนต์
             การเพิ่มคุณค่าผลผลิตของอาหาร เช่น การทำให้โคและสุกรเพิ่มปริมาณเนื้อ การปรับปรุงคุณภาพน้ำมันในพืชคาโนล่า
             การทำผลิตภัณฑ์จากไขมัน เช่น นม เนย น้ำมัน ยารักษาโรค ฯลฯ
             การรักษาโรค และบำรุงสุขภาพ เช่น สมุนไพร
เทคโนโลยีชีวภาพที่นำมาใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
           ประเทศไทยได้มีการค้นคว้าทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อทำประโยชน์ต่อประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเทคโนโลยีชีวภาพด้านการเกษตร เช่น
                    1. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ได้แก่ การขยายและปรับปรุงพันธุ์กล้วย กล้วยไม้ ไผ่ ไม้ดอกไม้ประดับ หญ้าแฝก
                    2. การปรับปรุงพันธุ์พืช ได้แก่
                                การปรับปรุงพันธุ์มะเขือเทศ พริก ถั่วฝักยาว ให้ต้านทานต่อศัตรูพืช ด้วยเทคนิคการตัดต่อยีน
                                การพัฒนาพืชทนแล้ง ทนสภาพดินเค็ม และดินกรด เช่น ข้าว
                                การปรับปรุงและขยายพันธุ์พืชที่เหมาะสมกับเกษตรที่สูง เช่น สตรอเบอร์รี่ มันฝรั่ง
                                การผลิตไหลสตรอเบอร์รี่สำหรับปลูกในภาคเหนือ และอีสาน
                                การพัฒนาพันธุ์พืชต้านทานโรค เช่น มะเขือเทศ มะละกอ
                     3. การพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์สัตว์ ได้แก่
                                การขยายพันธุ์โคนมที่ให้น้ำนมสูงโดยวิธี ปฏิสนธิในหลอดแก้ว และการฝากถ่าย ตัวอ่อน
                                การลดการแพร่ระบาดของโรคสัตว์ โดยพัฒนาวิธีการตรวจวินิจฉัยที่รวดเร็ว เช่น การตรวจพยาธิใบไม้ในตับในกระบือ การตรวจหาไวรัสสาเหตุโรคหัวเหลือง และจุดขาว จุดแดงในกุ้งกุลาดำ
                    4. การผลิตปุ๋ยชีวภาพ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก จุลินทรีย์ตรึงไนโตรเจน และปุ๋ยสาหร่าย
                    5. การควบคุมโรคและแมลงโดยชีวินทรีย์ เช่น การใช้จุลินทรีย์ควบคุมโรคในแปลงปลูก มะเขือเทศ ขิง สตรอเบอร์รี่
                              การใช้เชื้อราบางชนิดควบคุมกำจัดโรครากเน่าของทุเรียนและผลไม้อื่น ๆ ควบคุมโรค ไส้เดือนฝอย รากปม
                              การใช้แบคทีเรียหรือสารสกัดจากแบคทีเรียในการควบคุมและกำจัดแมลง เช่น การใช้แบคทีเรียกำจัดลูกน้ำและยุงที่เป็นพาหะนำโรคไข้สมองอักเสบ และโรคมาลาเรีย
                               นอกจากด้านการเกษตรแล้วประเทศไทยยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อประโยชน์ ด้านอื่น ๆ อีก เช่น
การพัฒนาเทคโนโลยีลายพิมพ์ดีเอ็นเอ เพื่อการตรวจการปลอมปนข้าวหอมมะลิ และการตรวจพันธุ์ปลาทูน่า
                                 การวิจัย และพัฒนาทางการแพทย์ ได้แก่
                                      การตรวจวินิจฉัยโรคไข้เลือดออก โรคทางเดินอาหาร
                                      การพัฒนาวิธีการตรวจหาสารต่อต้านมาลาเรีย วัณโรค จากพืชและจุลินทรีย์
                                      การพัฒนาการเลี้ยงเซลล์มนุษย์ และสัตว์
                                      การเพิ่มคุณภาพผลผลิตการเกษตร เช่น
                                      การปรับลดสารโคเลสเตอรอลในไข่ไก่
                                      การพัฒนาผลไม้ให้สุกช้า
 การพัฒนาอาหารให้มีส่วนป้องกันและรักษาโรคได้ เช่น การศึกษาสารที่ช่วยเจริญเติบโตในน้ำนมปัจจุบัน เทคโนโลยีชีวภาพถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางก่อให้เกิดความหวังใหม่ ๆ ที่จะพัฒนาสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพและคุณภาพให้ดียิ่งขึ้น ดังนั้น จึงมีบทบาทสำคัญต่อคุณภาพชีวิตของมนุษย์ด้วย ทั้งนี้ ควรติดตามข่าวสารความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีชีวภาพ รวมถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดผลกระทบต่อตนเองและสิ่งแวดล้อมและอ่านฉลากสินค้า ก่อนการตัดสินใจ